วิตามิน |
วิตามินเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ วิตามินเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในปฎิกิริยาการนำสารอาหารที่ให้พลังงานอย่าง คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน ไปใช้ประโยชน์ หากไม่มีวิตามิน สารอาหารที่กินเข้าไปก็จะอยู่นิ่งๆ นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เช่น หากขาดวิตามินบี 1 คาร์โบไฮเดรทที่อยู่ในข้าวที่เรากินเข้าไป ก็จะเอาไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไม่ได้ แบบนี้เป็นต้น
หลายคนในปัจจุปันมีความคิดว่า ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ อาหารการกินที่เปลี่ยนรูปแบบไปมากมาย ความเครียด การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดวิตามิน ต้องการวิตามินเสริม ในบทความนี้จะไม่พูดถึงว่า การกินวิตามินเสริม ดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่จะให้ข้อมูลว่า หากจะต้องกินวิตามินแล้ว กินอย่างไรให้คุ้มค่าไม่สูญเปลเปล่า
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่
ตระกูลวิตามิน บีทั้งหลาย กรดโฟลิค และอีกประเภทคือ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน A , D, E, K
วิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายต้องการในปริมาณที่สม่ำเสมอทุกวัน เพราะไม่มีการสะสมในร่างกาย ส่วนที่ได้รับเกินจะขับออกทางปัสสาวะ
วิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายสามารถเก็บสะสมไว้ได้ ในอวัยวะบางที่ เช่น ตับ การได้รับสะสมติดต่อกันนานๆ จะเกิดเป็นพิษได้
วิตามินกินให้คุ้มค่า ต้องกินแบบนี้......
1.กินวิตามินทุกชนิดหลังอาหาร เพราะอาหารจะช่วยให้การดูดซึมวิตามิน ให้เป็นไปอย่างช้าๆ และควรกินตอนเช้า เพราะร่างกายจะได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
2.แคลเซียมรูปแบบเม็ด หากจะกินเพื่อเสริมแคลเซี่ยม ในผู้ที่เป็นโรคทางกระดูก ให้กินหลังอาหาร 15 - 20 นาที แต่หากกินเพื่อให้แคล เซี่ยมไปจับกับฟอสเฟส ในอาหาร ( สำหรับผู้ทีเป็นโรคไต ที่มีฟอสเฟสในเลือดสูง ) ให้กินแคลเซี่ยมพร้อมอาหาร และ " เคี้ยว " เม็ดยาเพื่อให้ยาจับกับฟอสเฟส ในอาหารได้ดีขึ้น
3.วิตามินกินเพื่อให้ผล " เชิงป้องกัน " ในระยะยาวอาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาการขาดวิตามินมาก่อน
4.วิตามินหรือแร่ธาตุบางอย่าง มีความจำเป็นจำเพาะในผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานกินยา metformin เป็นประจำ แพทย์อาจจ่ายวิตามินบี 12 ให้กินเสริม เพราะ metformin ทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามินบี 12 ได้ หรือผู้ทีกินยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ในการรักษาโรคบางชนิด แพทย์อาจให้กินแคลเซี่ยมและวิตามินดีเสริม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง หรือ สตรีตั้งครรภ์ต้องได้รับกรดโฟลิคเพิ่ม เพื่อป้องกันความผิดปกติของหลอดประสาทของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องกินยากันชักบางชนิด ก็มีความจำเป็นที่จะต้องกินกรดโฟลิคเสริมด้วยเช่นกัน
5.ผู้ที่กินยาเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอส
ไพริน ให้ระมัดระวังการได้รับ วิตามินอีในขนาดสูง เพราะมีผลรบกวนการแข็งตัวของเลือดเช่นกัน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันปลา
6.ระมัดระวังการกินวิตามินรวมเสริม ที่มีธาตุเหล็ก ในผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีธาตุเหล็กเกินในร่างกายอยู่แล้ว เมื่อพบบุคคลที่ซีด ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะซื้อหาวิตามินมากินเอง
7.ผู้ป่วยกลุ่มโรคที่มีเม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น G-6-PD deficiency ให้ระวังการกินวิตามินซี ในขนาดสูง เพราะจะเร่งการเกิดเม็ดเลือดแดงแตก เป็นอันตรายมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น